หลังจากผ่านตลาดโก้งโค้งกันมาแล้ว ในระหว่างทางที่วิ่งจากตลาดโก้งโค้งไปยังตลาดน้ำอโยธยา ก็บังเอิญผ่าน และตาเหลือบไปเห็นหมู่บ้านญี่ปุ่น ก็เลยแวะเข้าไปเยี่ยมชมกันสักเล็กน้อย ที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในประเทศสยาม ถ้าหากจะถามว่ามีอะไรให้ดูมากไหม ก็คงไม่ได้มากมายอะไรนักสำหรับบางคน แต่สำหรับอีกหลายๆ คน ที่แห่งนี้คือสถานที่รำลึก นึกถึงบรรพบุรุษ ที่ต้องระหกระเหินเดินทางไกลออกมาจากแผ่นดินถิ่นเกิดของตนเอง แล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศสยามแห่งนี้ และในบริเวณนี้เอง เป็นจุดที่ครั้งหนึ่งชาวญี่ปุ่นได้ตั้งหมู่บ้าน และพำนักอาศัยอยู่ ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น คงจะต้องแวะเข้าไปเยี่ยมชม และติดตามหนังสารคดีสั้นๆ ที่เปิดฉายให้ดูก่อนจะเดินเข้าไปสู่ห้องพิพิธภัณฑ์ต่อไป
ที่หมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งนี้ ในช่วงเวลาวันแม่ที่เราไป ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีการจัดภาพแสดงให้เราเห็นว่า ภัยพิบัติน้ำท่วมในช่วงเวลาเลวร้ายสุดๆ ครั้งหนึ่งของประเทศไทยเรา ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ได้รับผลกระทบมากมายแค่ไหน เห็นแล้วก็สะท้อนถึงภาพบ้านตนเอง ที่เละเทะไม่แพ้กัน ต้นไม้ที่ปลูกอย่างสวยงามบนสนาม ที่ได้เห็นในวันนี้ ถูกปลูกขึ้นมาใหม่ทั้งหมดเพราะของเดิมไม่มีเหลือ รวมถึงต้นไม้ใหญ่หลายต้นที่ทนการแช่น้ำไม่ไหว ก็อำลาโลกไปเช่นเดียวกัน แต่ยังดีที่ว่าในส่วนของพิพิธภัณฑ์นั้น ถูกสร้างเอาไว้สูงจากพื้นมาก ดูจากภาพถ่าย และมองหาคราบรอยน้ำแล้ว น้ำไม่เข้าไปในส่วนจัดแสดงแน่นอน จะนับว่าเป็นโชคก็ไม่น่าจะใช่ เพราะชาวญี่ปุ่นมักจะมีนิสัย เตรียมพร้อมกับภัยพิบัติ และไม่ย่อท้อหากเกิดภัยภิบัติขึ้นจริง ดังนั้นในบริเวณจัดแสดง โดยส่วนตัวคิดว่าคงจะคำนวณ และไตร่ตรองมาอย่างดีแล้ว จึงก่อสร้างยกพื้นเอาไว้สูง เพราะเป็นส่วนที่สำคัญ ก็เลยได้รอดพ้นจากเหตุการณ์เลวร้ายของปีร้ายๆ ไปได้

หากย่างกรายเข้าสู่หมู่บ้านญี่ปุ่นแล้ว และไม่ได้พบไม่ได้เห็นสวนญี่ปุ่นแล้วล่ะก็คงจะบอกกับใครๆไม่ได้แน่ๆ ว่าที่แห่งนี้คือหมู่บ้านญี่ปุ่น ดังนั้นทางหมู่บ้านญี่ปุ่นเอง ก็ได้จัดสวนญี่ปุ่นไว้ด้วยเหมือนกัน เป็นสวนที่มีความสวยงามและลงตัวตามแบบฉบับของญี่ปุ่นที่ต้องมีหินโรยเป็นพื้นที่กว้างและจัดเกลี่ยอย่างสวยงามเพื่อลดความแข็งกระด้างของความเป็นหินลง การจัดวางตำแหน่งของหินก้อนใหญ่ หรือโคมญี่ปุ่นในสวน ก็ผ่านการคิดทบทวนอย่างดีถึงตำแหน่งการจัดวางที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

บริเวณทางออกของหมู่บ้านญี่ปุ่น คงมีท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่งวางตั้งเอาไว้อยู่ภายในศาลาเล็กๆ ที่ดูเก่าแก่อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะเหมือนศาลเจ้าเล็กๆ ก็ไม่ปาน ที่ศาลาแห่งนี้มีข้อความภาษาญี่ปุ่นเขียนเอาไว้ แต่ก็อ่านอะไรไม่ออก แปลเป็นไทยไม่ได้ แต่พอจะเดาได้ว่าเป็นเสาเรือนเก่าสักชิ้นหนึ่งของหมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งนี้ เพราะขนาดที่เห็นมันดูพอเหมาะพอเจาะพอดีกับเสาเรือน แต่อาจจะผิดก็ได้ไม่กล้ายืนยันอย่างเป็นมั่นเหมาะ คงต้องไปดูด้วยตาตนเอง เผื่อใครจะสามารถอ่านและแปลข้อความออกก็นำมาบอกมาเล่าให้ฟังด้วยก็แล้วกันครับ
- คู่มือเดินชม
- ภาชนะเก่าโบราณ
- ไหนี้บรรจุสินค้าขึ้นชื่อ หมักจากข้าวหอมมะลิ รู้ไหมว่าอะไร
- เรือโลหะเหล่านี้ อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
- ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า เรือเหล่านั้น ลอยน้ำได้
- เข้าสวนญี่ปุ่น
- ป้ายหินใหญ่ บริเวณด้านหน้าของหมู่บ้าน
ไปตามราง (รถไฟฟ้า) ถ่ายภาพตามทาง (รถไฟฟ้า) ตอน 2
ตามที่ได้เคยบอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ยังคงมีภาพถ่าย ตามข้างทางรถไฟฟ้า เพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ ไปจนกว่า จะถ่ายตามสถานีต่างๆ จนไม่รู้จะถ่ายอะไรนั่นแหละ แม้จะไม่ใช่ถ่ายภาพจากตึกสูงที่จะทำให้มองเห็น ได้ทั่วทั้งเมืองกรุงเทพ แต่ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่อยากจะบันทึกภาพเก็บเอาไว้ ...
ข้าวเหนียวหมูปิ้ง และ ตับปิ้ง ร้อนๆ
ข้าวเหนียวหมูย่าง (ในภาพเหลือแต่ตับย่างน่ะ หมูปิ้งหมูย่าง ผมเหมามาหมดแล้ว) ดูจะเป็นอาหารโปรดปราน ของใครหลายๆ คน เป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย ไปไหนๆ ก็จะหากินได้เสมอๆ ...
ลัดเลาะหาของอร่อย รอบทุ่งศรีเมือง เมืองอุดรธานี
การเดินลัดเลาะหาของกิน ถ้าเป็นเจ้าถิ่นเมืองอุดร ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ คนผลัดถิ่น น่ะไม่ใช่ง่ายนัก หลังจากที่ช่วงเย็น ได้เสร็จจากพิธี เสกสุสาน วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ...

วันแม่พาแม่เที่ยว 2012 ต่อภาคห้า (เดินเลาะ ตลาดริมแม่น้ำ ตลาดปทุมธานี)
เมื่อพ้นจากวัดมะขามมาแล้ว หากจะเดินทางอีกไม่ไกลเกินไปนัก ก็จะถึงตัวเมืองปทุมธานี ซึ่งมีตลาดเก่าๆ ใหญ่ๆ ตั้งอยู่ที่นั่น ดังนั้นเมื่อกินก๋วยเตี๋ยวโบราณที่วัดมะขามเสร็จ ก็ขอแวะไปเดินย่อยอาหารกันต่อที่ตลาดอำเภอเมืองปทุมธานีแห่งนี้อีกหน่อย ที่ตลาดสดเมืองปทุมธานี เป็นตลาดริมน้ำ ...