ผักตบชวา ขึ้นชื่อว่าผัก แล้วมันกินได้หรือไม่?

ผักตบชวา ชื่อก็บอกอยู่ว่าเป็นผัก แต่ไม่เคยได้ยินใครพูดเลยว่า กินผักตบชวาจิ้มน้ำพริกหนุ่มอร่อย หรืออื่นๆ แต่หลังจากลองค้นหา โดยใช้ search engine เจ้าประจำ ก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีก ดังนี้

ลักษณะ: ไม้น้ำ มีไหลทอดเลื้อยไปตามผิวน้ำ ต้นอวบน้ำ ใบรูปไข่ค่อนข้างกลม สีเขียวเป็นมัน ก้านใบพองออกเพื่อช่วยให้ลอยน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบดอกบาง 6 กลีบ สีฟ้าอมม่วง กลีบบนขนาดใหญ่ และมีแต้มสีเหลืองกลางกลีบ ออกดอกปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน

ขยายพันธุ์: แยกต้นอ่อนที่ปลายไหลไปปลูก

การบริโภค: ดอกอ่อนและก้านใบอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้ม

สรรพคุณ: ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย

น่ารู้: ช่อดอกผักตบชวาคล้ายกับดอกไฮยาซินธ์ จึงมีชื่อว่า Water Hyacinth

ผักตบชวา มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Eichlornia crassipes Solms ชื่อสามัญว่า Water Hyacinth อยู่ในวงศ์ Pontederiaceae เป็นพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ลอยน้ำได้โดยไม่ต้องมีที่ยึดเกาะ สามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก แผ่นใบคล้ายรูปหัวใจเป็นมันหนา ก้านใบพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุนช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้

อ่าน  เก็บตกพาแม่เที่ยววันแม่ "ตลาดสดมหาชัย"

ผักตบชวา สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ ทั้งในน้ำสกปรกและน้ำสะอาด เจริญเติบโตได้ดีที่ pH 4-10 และอุณหภูมิของน้ำไม่สูงกว่า 34 Co และในต้นพืชจะมีน้ำเฉลี่ยประมาณร้อยละ 95 (ในใบร้อยละ 89 และในก้านใบร้อยละ 96.7) ผักตบชวาช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยอาศัยคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ผักตบชวาที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เปรียบได้กับการบรรจุวัสดุพรุน ซึ่งกรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ จึงทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้น นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมาก ช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียด และจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก ช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ลำเลียงไปยังใบเพื่อสังเคราะห์แสง ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง 3 ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณร้อยละ 95 ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจนจะลดลงประมาณร้อยละ 80 และร้อยละ 77 ตามลำดับ แต่การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสียที่มีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง จะส่งผลให้ผักตบชวาเจริญเร็วขึ้นและปกคลุมพื้นที่ผิวน้ำมากขึ้น จึงควรมีการดูแลระบบเก็บต้นที่เจริญเต็มที่ขึ้นจากน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น เมื่อผักตบชวาตาย จะเน่าอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำเสียนั้นมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้รากของผักตบชวามีแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนแกรมลบ คือ Azospirillum spp. และมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 2.5 กิโลกรัม/เอเคอร์/วัน

อ่าน  ข้าวเหนียวหมูปิ้ง และ ตับปิ้ง ร้อนๆ

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/ผักตบชวา

เป็นอันว่า ผักตบชวา กินได้อย่างไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่าทำไมถึงเรียกว่าผัก เพียงแต่ เค้าไม่ได้กินส่วนใบกัน แต่กินส่วนของดอก และก้านใบอ่อน อาจจะเพราะว่า การแพร่พันธุ์ที่รวดเร็ว รวดเร็วมากจนกระทั่งใครๆ เรียกว่าผักสวะ เมื่อชื่อถูกเรียกไปแบบนี้แล้ว ก็เลยไม่มีใครสนใจมันว่าจะกินได้ หรือไม่ได้อีกต่อไปกระมัง

[nggallery id=44 template=caption ngg_gal_Columns=5]

ภาพเล่าเรื่อง

ธรรมชาติสอน “เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปัน”

ต้นไม้ใหญ่ ย่อมเป็นที่พึ่งพิงให้กับต้นไม้เล็กๆ แบบช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยกันและกัน ต้นปาล์มเปลือกหนาๆ มีร่องหลืบเล็กน้อย เพียงพอที่จะให้เฟิร์นข้าหลวงและเฟิร์นใบมะขาม ได้มีโอกาสฝังกายแทรกรากลงไปได้ แล้วค่อยๆ เจริญเติบโต ...

คำขอบคุณ กำลังใจคุณให้ได้

คนเราในทุกวันนี้ ได้รับคำสั่งสอนมาแบบผิดพลาดไปเหมือนกัน พ่อแม่ มักจะสั่งสอนลูกเสมอๆว่า ผู้ใหญ่ให้ของแล้วทำยังไง? เด็กๆ ก็จะตอบว่า ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ เหมือนนกแก้วนกขุนทอง ...

บันทึกเที่ยว บันทึกภาพ
อ่าน  โครงการปลูกผักริมรั้ว กินเองที่บ้าน

เที่ยวชม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ภายใน อุทยานวิทยาศาสตร์ หว้ากอ

ออกจากสวนนายดำ เราก็มุ่งพุ่งตรงไปยัง “หว้ากอ” ตามความตั้งใจแล้วนั้น ตั้งใจว่าจะไปชมอุทยานวิทยาศาสตร์ หว้ากอ แต่เนื่องจาก ไม่คิดว่า ภายในบริเวณ จะมีอะไรน่าสนใจๆ ...

เที่ยวหัวหิน แวะเพลินวาน

เที่ยวหัวหิน แวะเพลินวาน

เพลินวานหัวหิน ของผมในการไปครั้งนี้ ไม่มีอะไรให้น่าติดตามมากนัก เป็นเพียงการผ่านไป แถมยังต้องผ่านเลยเสียอีก อันเนื่องจากวันที่เดินทางไปถึงเพลินวานนั้น เป็นช่วงเวลาที่เพลินวาน ยังไม่เปิดทำการ รอเวลาผ่านไป ผ่านไป ...